วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การออกแบบงานกราฟฟิก : เอกภาพ


เอกภาพ Unity
เมื่อพูดถึงเรื่องการจัดองค์ประกอบ เราจะต้องซึมซับหลักการอยู่ 2 ข้อ ซึ่งเป็นหัวใจของการจัดองค์ประกอบในงานศิลปะ คือ
1. การสร้างเอกภาพ (Unity)
2. การสร้างจุดเด่น เน้นจุดสำคัญ (Emphasize)


เอกภาพ Unity
เอกภาพถือได้ว่าเป็นกฎเหล็กของศิลปะ และเป็นหลักสำคัญในการจัดองค์ประกอบ ความมีเอกภาพหรือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเป็นจุดเริ่มแรกในการจัดองค์ประกอบให้กับงานออกแบบของเรา
วิธีสร้างเอกภาพ หรือสร้างความกลมกลืนให้กับงานออกแบบมีหลักอยู่ 3 ข้อคือ
1. การสร้าง ความใกล้ิชิด ให้กับองค์ประกอบ
วิธีที่ง่ายที่สุดในการสร้างเอกภาพให้กับงานคือ การจัดองค์ประกอบที่มีอยู่ในสอดคล้องกัน แต่ละองค์ประกอบจะขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไปไม่ได้ การวางองค์ประกอบให้ใกล้ชิดกันจะทำให้ผู้ชมงานรู้สึกได้ ว่า องค์ประกอบต่าง ๆ เป็นพวกเดียวกัน เกิดภาพรวมที่มีเอกภาพ
2. สร้างความซ้ำกันขององค์ประกอบ (Repetition)
การจัดวางองค์ประกอบให้มีการซ้ำกันไปเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นเส้น จุด สี หรือ ลักษณะ ของผิวสัมผัส ฯลฯ ทำให้ผู้ชมงานรู้สึกถึงความเป็นพวกพ้องเดียวกันเกิดเอกภาพขึ้นในงาน
เรามาดูตัวอย่างกันดีกว่า

ภาพนี้ที่จริงแล้วไม่ได้มีความหมายทีีสื่อถึงสิ่งใดเลยแต่เมื่อม่การนำภาพมาวางซ้ำไปซ้ำมาทำให้ผู้ดูงานเกิดความเคยชินจนรู้ึสึกถึงความเป็นพวกพ้องเดียวกัน

3. สร้างความต่อเนื่องขององค์ประกอบ (Continuation)
ความต่อเนื่องจะมาจากเส้น หรือทิศทางขององค์ประกอบที่อยู่ภายในภาพ ซี่งนำสวยตาของผู้ชมให้เดินทางตามที่ผู้่ออกแบบกำหนดไว้ เมื่อได้มองภาพที่มีองค์ประกอบไหลต่อเนื่องกัน ทำให้กระบวนการรับรู้ของคนเราสร้างเรื่องราว ต่อเนื่องเป็นเรื่องเดียวกันและอย่างเป็นลำดับขั้น ซึ่งทั้งหมดทำให้เกิดภาพรวมที่มีเอกภาพขึ้นในใจ
ตัีวอย่างภาพความต่อเนื่อง

ภาพนี้นำเส้นมาสร้างเป็นระหว่างเพื่อนำสวยตาให้มองตามไป และให้ความรู้สึกว่าเราจะต้องมองจากมุมซ้ายบน ลงมุมซ้ายล่าง เป็นการเอาเส้นมาสร้างความต่อเนื่องเพื่อนำสวยตาผู้ชมทั้งที่ภาพนี้ไม่สื่ออะไร

ขอบคุณข้อมูลจาก http://student.nu.ac.th


การออกแบบงานกราฟฟิก : เสริมจุดเด่นของภาพ


เสริมจุดเด่น เน้นจุดสำคัญ Emphasize
หลังจากผ่านด่านแรกในการจัดองค์ประกอบคือ การสร้างเอกภาพให้กับงานของเราแล้วในด่านต่อไปคือการสร้างหรือเน้นจุดเด่นให้กับงาน (Emphasize) ในการสร้างจุดเด่นนั้นนอกจากจะสร้างความน่าสนใจให้งานแล้ว จุดเด่นจะทำให้ผู้ชมจับประเด็นความหมายของงาน และสามารถเข้าใจในความหมายที่เราตั้งใจออกแบบไว้ หรือเราอาจเรียกได้ว่า จุดเด่นแฝงการสื่อความหมายที่ผู้ออกแบบพยายามสื่อออกมา หลักการสร้างจุดสนใจมี 3 วิธีด้วยกันคือ
1. วางตำแหน่งจุดสนใจในงาน (Focus Point)
2. การสร้างความแตกต่างในงาน (Contrast)
3. การวางแยกองค์ประกอบให้โดดเด่น (Isolation)


1. การวางจุดสนใจในงาน (Focus Point)

ข้อแรก เราจะต้องรู้ว่า จะเน้นอะไรในงาน คิดถึงสิ่งที่ต้องการนำเสนอสิ่งที่ต้องการสร้างให้เด่นที่สุด หรือบางทีเราอาจจะเรียงลำดับตามความมากน้อยขององค์ประกอบนั้น ๆ
ข้อสอง มองงานที่เรากำลังจะออกแบบเป็นตาราง 9 ช่องดังรูป


ตารางนี้เป็นตารางแสดงจุดสนใจของคนส่วนใหญ่ที่มองภาพโดยแบ่งเป็น ตำแหน่ง 1,3,2 และ 4 เป็นหลัก เรามาดูกันว่ากันว่าเมื่อเราวางองค์ประกอบลงไปในแต่ละตำแหน่ง
องค์ประกอบเหล่านั้นจะมีอิทธิพลต่อภาพ และการให้ความสำคัญอย่างไร

  • ตำแหน่งหมายเลข 0
เป็นตำแหน่งที่ไม่ควรวางองค์ประกอบที่เราต้องการเน้น เพราะเป็นตำแหน่งที่สายตาคนเรามักจะไม่ให้ความสำคัญ
  • ตำแหน่งหมายเลข 1
เรามักจะชินกับพฤติกรรมการอ่านหนังสือที่ต้องกวาดสายตาจากมุมบนซ้ายลงไปมุมขวาล่างตำแหน่งหมายเลย 1 จึงเป็นส่วนที่คนส่วนใหญ่เห็นเป็นอันดับแรกในหน้าหนังสือ หรือภาพ
  • ตำแหน่งหมายเลข 2
เป็นตำแหน่งที่มีพลังในการดึงดูดสายตา มีความเฉียบ จึงเหมาะกับการจัดวางองค์ประกอบที่ต้องการเน้นเนื่องจากตำแหน่งมุมของภาพนั้นเรียกร้องความสนใจจากสายตาของผู้ชมได้ดี
  • ตำแหน่งหมายเลข 3
เป็นตำแหน่งที่สำคัญอีกตำแหน่งหนึ่งสืบเนื่องมาจากตำแหน่งที่ 1 เพราะเป็นตำแหน่งสุดท้ายที่คนส่วนใหญ่กวาดสายตามอง
  • ตำแหน่งหมายเลข 4
ความรู้สึกโดยทั่วไปของคนส่วนใหญ่ มักให้ตำแหน่งกลางภาพเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญที่สุดในงาน ถึงจะไม่เป็นจุดเรียกร้องสายตามากเท่ากับจุด 1, 2, 3, แต่ก็เป็นจุดรวมสายตาของผู้ชมที่มีต่องาน
เรามาดูตัวอย่างการวางตำแหน่งภาพให้น่าสนใจ

เนื่องจากมุมบนซ้ายเป็นมุมที่คนมักจะมองเป็นจุดแรกเนื่องจากความเคยชินในการอ่านหนังสือจากมุมบนซ้าย ลงมา จึงอาศัยจุดนี้ลากเส้นนำสายตา่มายังกลางภาพทำให้ภาพมีจุดน่าสนใจที่เด่นมากขึ้น
2. การสร้างความแตกต่างในงาน
ความแตกต่างเป็นตัวกำหนดความน่าสนใจหรือความโดดเด่นในงานได้ดีที่สุด แต่ในการออกแบบงานโดยใช้การสร้างความแตกต่างนั้น ต้องระวังให้ดีเพราะการสร้าง ให้องค์
ประกอบมีความแตกต่างมากเกินไป จะทำให้องค์ประกอบของภาพหลุดออกจากกรอบของงาน ทำให้งานที่ได้ไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ขาดความมีเอกภาพ วิธีอีกมากมายที่ทำให้
การจัดวางภาพเกิดความแตกต่างสะดุดตาได้แก่

  • การสร้างขนาดที่แตกต่างขององค์ประกอบภายในภาพ
  • รูปร่างที่แตกต่างกันขององค์ประกอบภายในภาพ
  • รูปลักษณ์หรือลักษณ์ที่แตกต่างขององค์ประกอบภายในภาพ


ในกรอบสี่เหลี่ยมแต่อัน มีความแตกต่างของรูปข้างใน ทำให้งานออกแบบนี้มีเอกภาพในด้านความแตกต่าง
3. การวางแยกองค์ประกอบให้โดดเด่น (Isolation)
การวางองค์ประกอบให้โดดเด่น หรือการวางองค์ประกอบที่ต้องการให้แยกออกมาห่างจากองค์ประกอบอื่น ๆ เป็นวิธีที่ทำให้ผู้ชมงานสังเกตเห็นองค์ประกอบนั้นได้ง่าย


ภาพที่จะที่มีการออกแบบให้มีเอกภาพแบบแยกองค์ประกอบให้โดดเด่นทำให้บ่งบอกว่า รถคันนี้ มีความสามารถ หรือมีอะไรที่น่าสนใจกว่ารถคันเล็ก ๆ ที่อยู่ข้างหลัง
ขอบคุณข้อมูลจาก http://student.nu.ac.th