วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การออกแบบงานกราฟฟิก : เอกภาพ


เอกภาพ Unity
เมื่อพูดถึงเรื่องการจัดองค์ประกอบ เราจะต้องซึมซับหลักการอยู่ 2 ข้อ ซึ่งเป็นหัวใจของการจัดองค์ประกอบในงานศิลปะ คือ
1. การสร้างเอกภาพ (Unity)
2. การสร้างจุดเด่น เน้นจุดสำคัญ (Emphasize)


เอกภาพ Unity
เอกภาพถือได้ว่าเป็นกฎเหล็กของศิลปะ และเป็นหลักสำคัญในการจัดองค์ประกอบ ความมีเอกภาพหรือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเป็นจุดเริ่มแรกในการจัดองค์ประกอบให้กับงานออกแบบของเรา
วิธีสร้างเอกภาพ หรือสร้างความกลมกลืนให้กับงานออกแบบมีหลักอยู่ 3 ข้อคือ
1. การสร้าง ความใกล้ิชิด ให้กับองค์ประกอบ
วิธีที่ง่ายที่สุดในการสร้างเอกภาพให้กับงานคือ การจัดองค์ประกอบที่มีอยู่ในสอดคล้องกัน แต่ละองค์ประกอบจะขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไปไม่ได้ การวางองค์ประกอบให้ใกล้ชิดกันจะทำให้ผู้ชมงานรู้สึกได้ ว่า องค์ประกอบต่าง ๆ เป็นพวกเดียวกัน เกิดภาพรวมที่มีเอกภาพ
2. สร้างความซ้ำกันขององค์ประกอบ (Repetition)
การจัดวางองค์ประกอบให้มีการซ้ำกันไปเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นเส้น จุด สี หรือ ลักษณะ ของผิวสัมผัส ฯลฯ ทำให้ผู้ชมงานรู้สึกถึงความเป็นพวกพ้องเดียวกันเกิดเอกภาพขึ้นในงาน
เรามาดูตัวอย่างกันดีกว่า

ภาพนี้ที่จริงแล้วไม่ได้มีความหมายทีีสื่อถึงสิ่งใดเลยแต่เมื่อม่การนำภาพมาวางซ้ำไปซ้ำมาทำให้ผู้ดูงานเกิดความเคยชินจนรู้ึสึกถึงความเป็นพวกพ้องเดียวกัน

3. สร้างความต่อเนื่องขององค์ประกอบ (Continuation)
ความต่อเนื่องจะมาจากเส้น หรือทิศทางขององค์ประกอบที่อยู่ภายในภาพ ซี่งนำสวยตาของผู้ชมให้เดินทางตามที่ผู้่ออกแบบกำหนดไว้ เมื่อได้มองภาพที่มีองค์ประกอบไหลต่อเนื่องกัน ทำให้กระบวนการรับรู้ของคนเราสร้างเรื่องราว ต่อเนื่องเป็นเรื่องเดียวกันและอย่างเป็นลำดับขั้น ซึ่งทั้งหมดทำให้เกิดภาพรวมที่มีเอกภาพขึ้นในใจ
ตัีวอย่างภาพความต่อเนื่อง

ภาพนี้นำเส้นมาสร้างเป็นระหว่างเพื่อนำสวยตาให้มองตามไป และให้ความรู้สึกว่าเราจะต้องมองจากมุมซ้ายบน ลงมุมซ้ายล่าง เป็นการเอาเส้นมาสร้างความต่อเนื่องเพื่อนำสวยตาผู้ชมทั้งที่ภาพนี้ไม่สื่ออะไร

ขอบคุณข้อมูลจาก http://student.nu.ac.th


การออกแบบงานกราฟฟิก : เสริมจุดเด่นของภาพ


เสริมจุดเด่น เน้นจุดสำคัญ Emphasize
หลังจากผ่านด่านแรกในการจัดองค์ประกอบคือ การสร้างเอกภาพให้กับงานของเราแล้วในด่านต่อไปคือการสร้างหรือเน้นจุดเด่นให้กับงาน (Emphasize) ในการสร้างจุดเด่นนั้นนอกจากจะสร้างความน่าสนใจให้งานแล้ว จุดเด่นจะทำให้ผู้ชมจับประเด็นความหมายของงาน และสามารถเข้าใจในความหมายที่เราตั้งใจออกแบบไว้ หรือเราอาจเรียกได้ว่า จุดเด่นแฝงการสื่อความหมายที่ผู้ออกแบบพยายามสื่อออกมา หลักการสร้างจุดสนใจมี 3 วิธีด้วยกันคือ
1. วางตำแหน่งจุดสนใจในงาน (Focus Point)
2. การสร้างความแตกต่างในงาน (Contrast)
3. การวางแยกองค์ประกอบให้โดดเด่น (Isolation)


1. การวางจุดสนใจในงาน (Focus Point)

ข้อแรก เราจะต้องรู้ว่า จะเน้นอะไรในงาน คิดถึงสิ่งที่ต้องการนำเสนอสิ่งที่ต้องการสร้างให้เด่นที่สุด หรือบางทีเราอาจจะเรียงลำดับตามความมากน้อยขององค์ประกอบนั้น ๆ
ข้อสอง มองงานที่เรากำลังจะออกแบบเป็นตาราง 9 ช่องดังรูป


ตารางนี้เป็นตารางแสดงจุดสนใจของคนส่วนใหญ่ที่มองภาพโดยแบ่งเป็น ตำแหน่ง 1,3,2 และ 4 เป็นหลัก เรามาดูกันว่ากันว่าเมื่อเราวางองค์ประกอบลงไปในแต่ละตำแหน่ง
องค์ประกอบเหล่านั้นจะมีอิทธิพลต่อภาพ และการให้ความสำคัญอย่างไร

  • ตำแหน่งหมายเลข 0
เป็นตำแหน่งที่ไม่ควรวางองค์ประกอบที่เราต้องการเน้น เพราะเป็นตำแหน่งที่สายตาคนเรามักจะไม่ให้ความสำคัญ
  • ตำแหน่งหมายเลข 1
เรามักจะชินกับพฤติกรรมการอ่านหนังสือที่ต้องกวาดสายตาจากมุมบนซ้ายลงไปมุมขวาล่างตำแหน่งหมายเลย 1 จึงเป็นส่วนที่คนส่วนใหญ่เห็นเป็นอันดับแรกในหน้าหนังสือ หรือภาพ
  • ตำแหน่งหมายเลข 2
เป็นตำแหน่งที่มีพลังในการดึงดูดสายตา มีความเฉียบ จึงเหมาะกับการจัดวางองค์ประกอบที่ต้องการเน้นเนื่องจากตำแหน่งมุมของภาพนั้นเรียกร้องความสนใจจากสายตาของผู้ชมได้ดี
  • ตำแหน่งหมายเลข 3
เป็นตำแหน่งที่สำคัญอีกตำแหน่งหนึ่งสืบเนื่องมาจากตำแหน่งที่ 1 เพราะเป็นตำแหน่งสุดท้ายที่คนส่วนใหญ่กวาดสายตามอง
  • ตำแหน่งหมายเลข 4
ความรู้สึกโดยทั่วไปของคนส่วนใหญ่ มักให้ตำแหน่งกลางภาพเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญที่สุดในงาน ถึงจะไม่เป็นจุดเรียกร้องสายตามากเท่ากับจุด 1, 2, 3, แต่ก็เป็นจุดรวมสายตาของผู้ชมที่มีต่องาน
เรามาดูตัวอย่างการวางตำแหน่งภาพให้น่าสนใจ

เนื่องจากมุมบนซ้ายเป็นมุมที่คนมักจะมองเป็นจุดแรกเนื่องจากความเคยชินในการอ่านหนังสือจากมุมบนซ้าย ลงมา จึงอาศัยจุดนี้ลากเส้นนำสายตา่มายังกลางภาพทำให้ภาพมีจุดน่าสนใจที่เด่นมากขึ้น
2. การสร้างความแตกต่างในงาน
ความแตกต่างเป็นตัวกำหนดความน่าสนใจหรือความโดดเด่นในงานได้ดีที่สุด แต่ในการออกแบบงานโดยใช้การสร้างความแตกต่างนั้น ต้องระวังให้ดีเพราะการสร้าง ให้องค์
ประกอบมีความแตกต่างมากเกินไป จะทำให้องค์ประกอบของภาพหลุดออกจากกรอบของงาน ทำให้งานที่ได้ไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ขาดความมีเอกภาพ วิธีอีกมากมายที่ทำให้
การจัดวางภาพเกิดความแตกต่างสะดุดตาได้แก่

  • การสร้างขนาดที่แตกต่างขององค์ประกอบภายในภาพ
  • รูปร่างที่แตกต่างกันขององค์ประกอบภายในภาพ
  • รูปลักษณ์หรือลักษณ์ที่แตกต่างขององค์ประกอบภายในภาพ


ในกรอบสี่เหลี่ยมแต่อัน มีความแตกต่างของรูปข้างใน ทำให้งานออกแบบนี้มีเอกภาพในด้านความแตกต่าง
3. การวางแยกองค์ประกอบให้โดดเด่น (Isolation)
การวางองค์ประกอบให้โดดเด่น หรือการวางองค์ประกอบที่ต้องการให้แยกออกมาห่างจากองค์ประกอบอื่น ๆ เป็นวิธีที่ทำให้ผู้ชมงานสังเกตเห็นองค์ประกอบนั้นได้ง่าย


ภาพที่จะที่มีการออกแบบให้มีเอกภาพแบบแยกองค์ประกอบให้โดดเด่นทำให้บ่งบอกว่า รถคันนี้ มีความสามารถ หรือมีอะไรที่น่าสนใจกว่ารถคันเล็ก ๆ ที่อยู่ข้างหลัง
ขอบคุณข้อมูลจาก http://student.nu.ac.th



การออกแบบ : การออกแบบกับวิถีชีวิต


วัฏจักรชีวิตของเราตั้งแต่เกิด แก่ เจ็บ ตาย ได้พบเห็นสิ่งต่าง ๆ มากมาย ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมีทั้งผลงาน ที่เป็น ไปตามกฎของธรรมชาติ และผลงานจากฝีมือของมนุษย์เราเอง ในการดำรงชีวิตของเราในแต่ละวัน เริ่มตั้งแต่ ตื่นนอน จนกระทั่งเข้านอนอีกครั้ง จะต้องมีการใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ผ่านกระบวนการออกแบบ เช่น ใช้แปรงสีฟัน ยาสีฟันอาบน้ำ ล้างหน้าโดยใช้ก๊อกน้ำ ฝักบัว และทำความสะอาดร่างกายด้วยสบู่ แต่งตัวด้วยเสื้อผ้าในตู้ หน้ากระจกเงา ใช้อุปกรณ์ในการตกแต่งร่างกายนานาชนิด เพื่อให้พร้อมสำหรับการทำงานวันใหม่ รับประทาน อาหารใน ห้องครัว ด้วยจาน ชาม ช้อนส้อม แก้วน้ำชา กาแฟ จากตู้ ชั้นวาง เดินทางไปทำงานด้วย ยานพาหนะ ต่างๆ พบเห็นสิ่งแวดล้อมรอบตัวมากมายทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน และในระหว่างการเดินทาง จนกระทั่งกลับมา พักผ่อน ดู ทีวี ฟังเพลง เล่นกีฬา อ่านหนังสือ และหลับนอนบนเตียงนอน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นผลงานการออกแบบ ของ มนุษย์เราด้วยกันเองแทบทั้งสิ้น ฉะนั้นการออกแบบจึงมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของเราเป็นอย่างมาก เพราะช่วย ให้ได้รับความสะดวกสบาย ทั้งทางกายและทางใจ และมนุษย์เป็นสัตว์โลกชนิดเดียวที่มีความสามารถ ในการ ออกแบบ และได้พัฒนาการออกแบบให้ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงเรื่อยไปโดยไม่มีการหยุดยั้ง สำหรับสัตว์โลกชนิดอื่น ๆ ก็มีการออกแบบเพื่อการดำรงชีวิตด้วย แต่การออกแบบจะมีลักษณะเหมือนเดิม ไม่มีการพัฒนาดัดแปลง หรือ ปรับปรุงให้ก้าวหน้าเรื่อยไปเหมือนกับมนุษย์ยกตัวอย่าง เช่น รังนก รังผึ้ง จอมปลวก ถึงแม้ว่าการสร้าง จะเหมือน เดิม แต่ก็มีความสลับซับซ้อนอย่างน่าทึ่งด้วยเหมือนกัน
การออกแบบบางอย่างที่ไม่ใช่ตัววัตถุสิ่งของ แต่เป็นการวางแผนกำหนดขั้นตอน หรือกำหนดเวลาสำหรับ ปฏิบัต ิภารกิจ ก็ถือว่ามีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เช่นเดียวกันเพราะการปฏิบัติภารกิจที่ได้วางแผนไว ้ล่วงหน้า ย่อมทำให้ประสบความสำเร็จได้ดีกว่าการปฏิบัติภารกิจที่ไม่ได้วางแผนไว้ก่อน
จากเหตุผลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า การออกแบบเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในสังคม ที่มีอิทธิพลผลักดันให้สังคม มีการ พัฒนาอยู่ด้วยตลอดเวลา จากแนวความคิดหนึ่งเปลี่ยนไปสู่อีกแนวความคิดหนึ่ง และจากรูปแบบหนึ่ง เปลี่ยนไป สู่อีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งทำให้สังคมเราพบกับความแปลกใหม่อยู่ตลอดเวลา
นั่นเป็นการใช้สิ่งที่ผู้อื่นได้ออกแบบไว้ในชีวิตเรา โดยการแสวงหาแบบตามที่มีผู้ออกไว้ให้ตรงกับที่เราต้องการ หรือ ถูกใจ ซึ่งหลายครั้งเราพบว่าสิ่งต่างๆ ที่เราใช้อยู่นั้นไม่ถูกใจเราทั้งหมด เราต้องพอใจในสิ่งที่มีอยู่เท่านั้น แต่ใน บางโอกาสเราสามารถคิดสร้างสรรค์ และออกแบบเพื่อตัวเราเองได้เช่นกัน จะมีอะไรบ้างนั้น เรามาดูกันว่า การออกแบบมีกี่ประเภท และมีอะไรบ้างที่เราสามารถออกแบบเพื่อความพึงพอใจของเราได้บ้าง
ขอบคุณข้อมูลจาก http://skm.nfe.go.th


ประเภทของการออกแบบ


การออกแบบแบ่งได้เป็น 10 ประเภท คือ
1. การออกแบบสร้างสรรค์เป็นการออกแบบเพื่อ นำเสนอความงาม ความพึงพอใจ เน้นความคิดสร้างสรรค์ แปลกๆ ใหม่ๆ ให้เกิดความสะเทือนใจ เร้าใจ ซึ่งการสร้างสรรค์นี้อาจเป็นการพัฒนาจากสิ่งที่มีอยู่เดิม หรือสร้างขึ้นใหม่ก็ได้
  • งานออกแบบสร้างสรรค์นี้มี 5 ลักษณะ คือ
  • งานออกแบบจิตรกรรม (Painting)คืองานศิลปะ ด้านการวาดเส้น ระบายสี เพื่อแสดงอารมณ์ และความรู้สึก ในลักษณะ สองมิติ จำเป็นต้องใช้ ความคิดสร้างสรรค์ ในผลงานแต่ละชิ้นของผู้สร้าง
  • งานออกแบบประติมากรรม (Sculpture)คืองานศิลปะด้าน การปั้น แกะสลัก เชื่อมต่อในลักษณะสามมิติ คือมีทั้งความกว้าง ยาว และหนา
  • งานออกแบบภาพพิมพ์ (Printmaking) คืองานศิลปะที่ใช้กระบวนการพิมพ์มาสร้างสรรค์รูปแบบด้วยเทคนิคการพิมพ์ต่างๆ เช่น ภาพพิมพ์ไม้ โลหะ หิน และอื่นๆ งานออกแบบสื่อประสม (Mixed Media) คืองานศิลปะที่ใช้วัสดุหลากหลายชนิด เช่น กระดาษ ไม้ โลหะ พลาสติก เหล็ก หรือวัสดุอื่นๆ นำมาสร้าง ความผสาน กลมกลืน ให้เกิดผลงานที่แตกต่างอย่างกว้างขวาง
  • งานออกแบบภาพถ่าย (Photography) ยุคนี้เป็นยุคที่การถ่ายภาพกลายเป็นเรื่องง่ายๆ สำหรับผู้ที่สร้างสรรค์งานถ่ายภาพ เเพราะเทคโนโลยีการถ่ายภาพ มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ด้วยการลงทุนสร้างสรรค์ที่ไม่แพงมาก การถ่ายภาพอาจเป็นภาพ คน สัตว์ สิ่งของ ธรรมชาติทั่วๆไป โดยมุ่งเน้นการสร้างสรรค์ เนื้อหาที่แปลกใหม่ เพื่อสนองความต้องการของผู้ถ่ายภาพ
2. การออกแบบสัญลักษณ์และเครื่องหมาย (Symbol & Sign)เป็นการออกแบบเพื่อสื่อความหมาย เป็นสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายที่ ทำความเข้าใจกับผู้พบเห็น โดยไม่จำเป็น ต้องมีภาษากำกับ เช่น ไฟแดง เหลือง เขียว ตามสี่แยก หรือเครื่องหมายจราจรอื่นๆ
เครื่องหมาย (Symbol) คือสื่อความหมายที่แสดงความนัยเพื่อเป็นการชี้ เตือน หรือกำหนดให้สมาชิกในสังคม รู้ถึง ข้อกำหนด อันตราย เช่น
  • เครื่องหมายจราจร
  • เครื่องหมายสถานที่
  • เครื่องหมายที่ใช้กับเครื่องกล
  • เครื่องหมายที่ใช้กับเครื่องไฟฟ้า
  • เครื่องหมายตามลักษณะสิ่งของ เครื่องใช้ ฯลฯ
สัญลักษณ์ คือสื่อความหมายที่แสดงความนัย เพื่อบอกให้ทราบถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งไม่มีผลในทางปฏิบัติเหมือน เครื่องหมาย แต่มีผลทางด้านการรับรู้ ความคิด หรือทัศนคติ ที่พึงมีต่อสัญลักษณ์นั้นๆ เช่น
  • สัญลักษณ์ของชาติ เช่น ธงชาติ ฯลฯ
  • สัญลักษณ์ขององค์กรต่างๆ เช่น สถาบันการศึกษา กระทรวง สมาคม พรรคการเมือง ฯลฯ
  • สัญลักษณ์ของบริษัทห้างร้านทางธุรกิจ เช่น ธนาคาร บริษัท ห้างร้าน ฯลฯ
  • สัญลักษณ์ของสินค้างและผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ตราสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ที่ผลิตจำหน่าย ตามท้องตลาด ฯลฯ
  • สัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ในสังคม เช่น การกีฬา การร่วมมือในสังคม การทำงาน ฯลฯ
3. การออกแบบโครงสร้าง
เป็นการออกแบบเพื่อใช้เป็นโครงยึดเหนี่ยว ให้อาคาร สิ่งก่อสร้างสามารถทรงตัว และรับน้ำหนัก อยู่ได้ อาจเรียกว่า การออกแบบสถาปัตยกรรม คือการออกแบบสิ่งก่อสร้างประเภทต่าง ๆ ออก แบบอาคาร เช่น การออกแบบ ที่พัก อาศัย ออกแบบเขื่อน ออกแบบสะพาน ออก แบบอาราม , โบสถ์ อื่น ๆ ที่คงทนและถาวร นักออกแบบเรียกว่า สถาปนิก ผู้ให้ ความสำคัญกับงานด้านนี้เป็นอย่างมาก นอกจากนั้นการออกแบบโครงสร้างยังเป็น ส่วนหนึ่งของ งานประติมากรรม ที่เน้นคุณภาพของการออกแบบสามมิติ และยังหมายถึงการออกแบบเครื่องเรือน ฉากและเวที อีกด้วย
4. การออกแบบหุ่นจำลอง
้เป็นการออกแบบเพื่อเป็นแบบสำหรับย่อ ขยาย ผลงานตัวจริง หรือเพื่อศึกษารายละเอียดของสิ่งนั้นๆ เช่น

  • หุ่นจำลองบ้าน
  • หุ่นจำลองผังเมือง
  • หุ่นจำลองเครื่องจักรกล
  • หุ่นจำลองทางวิทยาศาสตร์ ฯลฯ
หุ่นจำลองเหล่านี้อาจจะสร้างจากงานออกแบบ หรือสร้างเลียนแบบจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว เพื่อศึกษารายละเอียด หรือข้อมูลต่างๆ ซึ่งอาจจำแนกได้ ดังนี้
  • หุ่นจำลองเพื่อขยาย หรือย่อแบบ เช่น อาคาร อนุสาวรีย์ เหรียญ ฯลฯ
  • หุ่นจำลองย่อส่วนจากสิ่งแวดล้อม เช่น ลูกโลก ภูมิประเทศ ฯลฯ
  • หุ่นจำลองเพื่อศึกษารายละเอียด เช่น หุ่นจำลองภายในร่างกายคน เครื่องจักรกล ฯลฯ
5. การออกแบบสิ่งพิมพ์
เป็นการออกแบบเพื่อการผลิตงานสิ่งพิมพ์ ชนิดต่าง ๆ ได้แก่

  • หนังสือ
  • ปกหนังสือ
  • ปกรายงาน
  • หนังสือพิมพ์
  • โปสเตอร์
  • นามบัตร
  • การ์ดอวยพร
  • หัวกระดาษจดหมาย
  • แผ่นพับ
  • แผ่นปลิว
  • ลายผ้า
สัญลักษณ์ เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายหน่วยงาน ฯลฯ
6. การออกแบบผลิตภัณฑ์
เป็นการออกแบบเพื่อนำมาใช้สอยในชีวิตประจำวัน โดยเน้นการผลิตจำนวนมาก ในรูปสินค้า เพื่อให้ผ่านไปยังผู้ซื้อ ผู้บริโภคในวงกว้าง คือการผลิต ผลิตภัณฑ์ ชนิดต่าง ๆ ซึ่ง มีขอบเขตกว้างขวางมากด และแบ่งออกได้มากมาย หลายลักษณะ นักออกแบบรับผิดชอบเกี่ยวกับประโยชน์ใช้สอยและความสวยงามของ ผลิตภัณฑ์ งานออกแบบ ประเภทนี้ได้แก่
  • งานออกแบบเฟอร์นิเจอร์
  • งานออกแบบครุภัณฑ์
  • งานออกแบบเครื่องสุขภัณฑ์
  • งานออกแบบเครื่องใช้สอยต่างๆ
  • งานออกแบบเครื่องประดับ อัญมณี
  • งานออกแบบเครื่องแต่งกาย
  • งานออกแบบภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์
  • งานออกแบบผลิตเครื่องมือต่าง ๆ ฯลฯ
7. การออกแบบโฆษณา
เป็นการออกแบบเพื่อชี้แนะและชักชวน ทางด้านผลิตภัณฑ์ บริการ และความคิด จากความคิดของคน คนหนึ่ง ไปยังกลุ่มชนโดยส่วนรวม ซึ่งการโฆษณาเป็นปัจจัยสำคัญที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตของประชาชน และธุรกิจ เพราะจะช่วยกระตุ้น หรือผลักดันอย่างหนึ่งในสังคม เเพื่อให้ประชาชนเกิดความต้องการ และเปรียบเทียบ สิ่งที่โฆษณาแต่ละอย่าง เพื่อเลือซื้อ เลือกใช้บริการ หรือเลือกแนวคิด นำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันของเรา
การโฆษณาผลิตภัณฑ์ เช่น โฆษณาขายอาหาร ขายสิ่งก่อสร้าง ขายเครื่องไฟฟ้า ขายผลิตผลทาง เกษตรกรรม
การโฆษณาบริการ เช่น โฆษณาบริการท่องเที่ยว บริการซ่อมเครื่องจักรกล บริการหางานทำ บริการของ สายการบิน
การโฆษณาความคิด เช่น โฆษณาความคิดเห็นทางวิชาการ ข้อเขียน ข้อคิดเห็นในสังคม ความดีงามในสังคม
นอกจากนี้ยังมีการโฆษณาชวนเชื่อที่เสนอความคิดเห็น เกลี้ยกล่อม สร้างอิทธิพลทางความคิด หรือทัศนคติ เช่น การโฆษณาทางศาสนา โฆษณาให้รักษากฎจราจร โฆษณาให้รักชาติ
การโฆษณาเหล่านี้มี สื่อที่จะใช้กระจายสู่ประชาชน ได้แก่
  • สื่อกระจายเสียงและภาพ เช่น วิทยุ ทีวี โรงภาพยนตร์
  • สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร
  • สื่อบุคคล เช่นการแจกสินค้าส่งคนไปขาย ส่งสินค้าไปตามบ้าน
8. การออกแบบพาณิชยศิลป์
ป็นการออกแบบเพื่อใช้ฝีมือ แสดงความงามที่ใช้ในการตกแต่ง อาจจะเป็นสิ่งของเครื่องใช้เล็กๆ น้อยๆ ก็ได้ ส่วนใหญ่จะเน้นความสวยงาม ความน่ารัก ซึ่งเป็นความสวยงามที่มีลักษณะเร้าใจต่อผู้พบเห็นในทันทีทันใด และแสดงความสวยงามหรือศิลปะเด้นกว่าประโยชน์ใช้สอย เช่นการออกแบบที่ใส่ซองจดหมาย แทนที่จะมีเพียงที่ใส่ และที่แขวน ซึ่งเป็นหน้าที่หลัก ก็อาจจะออกแบบเป็นรูปนกฮูก หรือรูปสัตว์ต่างๆ แสดงสีสรรและ การออกแบบ ที่แปลกใหม่ เร้าใจ เป็นต้น ลักษณะของการออกแบบพาณิชย์ศิลป์ยังมุ่งออกแบบในลักษณะของแฟชั่น ที่มีกา รเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตามสมัยนิยม
9. การออกแบบศิลปะประดิษฐ์เป็นการออกแบบที่แสดงความวิจิตรบรรจง มีความสวยงาม เพื่อให้เกิดความสุขสบาย รื่นรมย์ มากกว่าการ แสดงออกซึ่งความรู้สึกนึกคิดอื่นใด ความวิจิตรบรรจงในที่นี้หมายถึง การตกแต่งสร้างสรรค์ลวดลาย หรือรูปแบบ ด้วยความพยายาม เป็นงานฝีมือที่ละเอียด ประณีต เช่น
  • การจัดผักซึ่งเป็นเครื่องจิ้มอาหารคาวของไทย แทนที่จะจัดพริก มะเขือ แตงกวา ต้นหอม ลงในจานเท่านั้น แม่ครัวระดับฝีมือบางคนจะประดิษฐ์ตกแต่งพืช ผัก เหล่านั้นอย่างสวยงามมาก เช่น ประดิษฐ์เป็นดอกไม้ รูปสัตว์ หรือลวดลายต่างๆ งานศิลปะประดิษฐ์มีหลายประเภท เช่น
  • งานแกะสลักของอ่อน เช่นผัก ผลไม้ สบู่ เทียน
  • งานจัดดอกไม้ใบตอง เช่น ร้อยมาลัย จัดพวงระย้าดอกไม้ โคมดอกไม้
  • งานเย็บปักถักร้อยตกแต่ง เช่น ปักลวดลายต่างๆ ถักโครเชท์
  • เครื่องตกแต่งร่างกาย เช่น แหวน กำไล ต่างหู เข็มกลัด
  • งานกระดาษ เช่น ฉลุกระดาษ ประดิษฐ์กระดาาเป็นดอกไม้
  • งานประดิษฐ์เศษวัสดุ เช่น ใบไม้ เปลือกหอย ดอกหญ้า หลอดกาแฟ
  • งานแกะสลักของแข็ง เช่น แกะสลักหน้าบัน คันทวย บานประตู โลหะ
10. การออกแบบตกแต่งเป็นการออกแบบเพื่อการเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบเพื่อ เสริมแต่งความงาม ให้กับอาคารบ้านเรือน และบริเวณที่อยู่อาศัย เพื่อให้เกิดความสวยงามน่าอยู่อาศัย การออกแบบตกแต่งในที่นี้ หมายถึงการออกแบบตกแต่งภายนอก และการออกแบบตกแต่งภายใน
  • การออกแบบตกแต่งภายใน หมายถึง การออกแบบตกแต่างที่เสริมและจัดสภาพภายในอาคาร ให้สวยงาม น่าอยู่อาศัย ซึ่งหมายรวมถึง ภายในอาคารบ้านเรือน ที่ทำงาน ร้านค้า โรงเรียน
  • การออกแบบตกแต่างภายนอก เป็นการออกแบบตกแต่งนอกอาคารบ้านเรือน ภายในรั้ว ที่สัมพันธ์กับตัวอาคาร เช่น สนาม ทางเดิน เรือนต้นไม้ บริเวณพักผ่อน และส่วนอื่นๆ บริเวณบ้าน
ขอบคุณข้อมูลจาก http://skm.nfe.go.th

ศิลปะ : ความหมายของศิลปะ


ใครต่อใครชอบพูดถึง "ศิลปะ" กันมากมาย บ้างก็ว่า "เขามีหัวทางศิลปะ" บ้าง "เรามันคนไม่มีศิลปะ" บ้างบางครั้งเราอาจพูดถึงศิลปะโดยไม่รู้ตัว เพราะศิลปะแทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตของเราอยู่ตั้งแต่เช้าจรดเย็น เช่น"โอ้ โฮ วันนี้บีแต่งตัวสวยเชียว ดูเข้ากันไปหมดตั้งแต่ผมลงไปถึงเท้า" หรือ "บ้านของเอสตกแต่งได้งด งามมาก" "หมอนั่นมีศิลปะในการโกงสูงมาก" เมื่อเราพูดถึงศิลปะ เรารู้หรือไม่ว่า ศิลปะคืออะไร อย่างไรจึงเรียกว่าเป็นศิลปะ เรามาดูกันดีกว่า
ความหมายของศิลปะ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2530 หมายถึง ผลแห่งความคิดสร้างสรรค์ ของมนุษย์ที่แสดงออกมาในรูปลักษณ์ต่าง ๆ ให้ปรากฏ ซึ่งสุนทรียภาพ ความประทับใจ หรือความสะเทือนอารมณ์ ความอัจฉริยภาพ พุทธิปัญญา ประสบการณ์ รสนิยม และทักษะของแต่ละคน เพื่อความพอใจ ความรื่นรมย์ ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีหรือ ความเชื่อทางศาสนา
นอกจากนั้นนักปรัชญาได้นิยามความหมายของศิลปะไว้ มากมาย ดังเช่น
ศิลปะ คือการถ่ายทอดความรู้สึก ศิลปะเป็นวิธีสื่อสารความรู้สึกระหว่างมนุษย์ด้วยกัน
(เรโอ ตอลสตอย : Leo Tolstoi)
ศิลปะ เกิดจากความเมาหรือความเพลิน ช่วยให้เราได้รับความเพลิดเพลินในชีวิต ด้วยเหตุนี้ โลกที่น่าเกลียดจึงเปลี่ยนแปลงไปเป็นโลกที่น่ารักเพราะศิลปะ (ไดโอนิซุส : Dionisus)
ศิลปะ ได้แก่สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ในเมื่อธรรมชาติไม่สามารถอำนวยให้ (หลวงวิจิตรวาทการ)
ศิลปะ หมายถึงงานอันเป็นความพากเพียรของมนุษย์ ซึ่งต้องใช้ความพยายามด้วยมือและด้วยความคิด (ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี)
ศิลปะ คือการเลียนแบบธรรมชาติ
ศิลปะ คือการแสดงออกทางความงาม
ศิลปะ คือภาษาชนิดหนึ่ง
ศิลปะ คือการรับรู้ทางการเห็น
ศิลปะ คือการกระทำทุกอย่างที่มนุษย์ต้องการสร้างขึ้น เพื่อให้มีความงาม ความแปลก และมีประโยชน์เท่าที่ความสามารถและแรงดลใจของมนุษย์จะแสดงให้ปรากฏได้
จากการนิยามความหมายดังกล่าวพอสรุปได้ว่า  ศิลปะ คือสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อความงามและความพึงพอใจ
ขอบคุณข้อมูลจาก http://skm.nfe.go.th

ศิลปะ : การสร้างสรรค์


กล่าวกันว่าการสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่เกิดมาจากความคิดสร้างสรรค์เป็นคุณสมบัติที่ติดตัวมากับมนุษย์เสมอหน้ากันจนดูเหมือนว่า มันเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย เลยทีเดียว ขึ้นอยู่กับว่าใครจะใช้มันมากกว่าใคร แล้วความคิดสร้างสรรค์คืออะไร และ เกิดได้อย่างไร
ความคิดสร้างสรรค์ คือการกระทำในลักษณะต่าง ๆ เพื่อให้เกิด สิ่งแปลกใหม่ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน สิ่งที่มีชีวิตเท่านั้นที่จะมีความคิดอย่างสร้างสรรค์ได้ ความคิดสร้างสรรค์เป็นความคิดระดับสูง เป็นความสามารถทางสติปัญญาแบบหนึ่งที่จะคิดได้หลายทิศทางหลากหลายรูปแบบโดยไม่มีขอบเขตนำไปสู่กระบวนการคิดเพื่อสร้างสิ่งแปลกใหม่ หรือเพื่อการพัฒนาของเดิมให้ดีขึ้นทำให้เกิดผลงานที่มีลักษณะเฉพาะตน ของตัวเอง อาจกล่าวได้ว่า มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวในโลกที่มีความคิดสร้างสรรค์ เนื่องเพราะตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีแต่มนุษย์เท่านั้นที่สามารถสร้างสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อใช้ประกอบในการดำรงชีวิต และสามารถพัฒนาสิ่งต่าง ๆให้ดีขึ้นกว่าเดิม รวมถึงมีความสามารถในการพัฒนาตน พัฒนาสังคม พัฒนาประเทศ และรวมถึงพัฒนาโลกที่เราอยู่ให้มีลักษณะที่เหมาะสมกับมนุษย์มากที่สุด ไม่ว่าโลกจะหมุนในแนวใด หรือแปรเปลี่ยนไปอย่างไร มนุษย์เราก็สามารถพัฒนาความคิดปรับเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้อย่างชาญฉลาด
การสร้างสรรค์มี 3 ส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่
1. การรับรู้ (Perception) เพราะเราจะมีความคิดสร้างสรรค์ได้ จะต้องพบเห็นสิ่งต่างๆ มากๆ มีการรับรู้มาก และต้องพยายามสังเกตจากการรับรู้รั้น
2. จินตนาการ (Inagination) ซึ่งเกิดจากการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส เมื่อรู้มาก เห็นมาก จึงทำให้เกิด ความคิดมาก และมีจินตนาการต่อสิ่งต่างๆ มาก จินตนาการจึงเกิดจากการรับรู้ของเราต่อสิ่งต่างๆ รอบตัว เสริมด้วยความคิด การใช้จินตนาการแบบอุดมคติคืการสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ด้วยรูปแบบที่ไม่เหมือนใคร
3. ประสบการณ์ (Experrience) เป็นผลจากการรับรู้ เรียนรู้ หรือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาก่อนแล้วเก็บสะสมไว้ ในสมอง และรอจังหวะที่จะแสดงออกมา
ถ้าศิลปะเป็นสิ่งที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์ นั่นแสดงว่า สิ่งต่าง ๆ ที่มนุษย์คิดค้นกระทำขึ้นมา ทั้งที่เป็นเรื่องใหม่ ๆ หรือเป็นเรื่องที่ทำให้ดีขึ้นกว่าเดิม เป็นงานศิลปะหรือไม่ แล้ว แนวคิดใหม่ ๆ วิธีการใหม่ ๆ ประดิษฐ์กรรมใหม่ ๆ ความเชื่อใหม่ ๆ ศาสนาใหม่ ๆ ตลอดจนถึงการดำรงชีวิตแบบใหม่อาวุธใหม่ ๆ การสร้างความหายนะให้กับผู้อื่นด้วยวิธีการใหม่ ๆ ก็เป็นศิลปะด้วยหรือไม่การคดโกง คอรัปชั่นด้วยวิธีการใหม่ ๆ ด้วยชั้นเชิงที่แนบเนียน สร้างความเสียหายใหญ่หลวง จะถูกยกย่องว่าเป็นผลงานศิลปะชั้นเยี่ยมหรือไม่
ยังไม่ใช ่สิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นยังไม่ใช่ศิลปะทั้งหมด เพราะ "ศิลปะคือสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อความงามและความพึงพอใจ" ฉะนั้นสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น โดยไม่มีความงาม และความพึงพอใจ จึงไม่ใช่ศิลปะ
ขอบคุณข้อมูลจาก http://skm.nfe.go.th

ศิลปะ : ความงามและความพึงพอใจ


ความงาม และความพึงพอใจของศิลปะจะเกิดขึ้นกับผู้ชมในเบื้องต้นที่พบเห็น และต่อไปจะก่อให้เกิด ความสะเทือนใจ ด้วยอารมณ์ทางสุนทรียะในผลงานศิลปะนั้น
ความงามในงาน ศิลปะ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ความงามทางกาย (Physical Beauty) เป็นความงามของรูปทรง ที่กำหนด เรื่องราว หรือเกิดจากการ ประสานกลมกลืนกัน ของทัศนธาตุ เป็นผลจากการ จัดองค์ประกอบทางศิลปะ คือ เส้น สี แสงเงา รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว และน้ำหนัก โดยมีหลักการที่สำคัญคือ ความสมดุลย์ สัดส่วน จังหวะ ความกลมกลืน ความขัดแย้ง และจุดเด่น ซึ่งจะกล่าวในเรื่อง "องค์ประกอบศิลป์"
2. ความงามทางใจ (Moral Beauty) ได้แก่ ความรู้สึก หรืออารมณ์ ที่แสดงออก มาจากงานศิลปะ หรือ ที่ผู้ชมสัมผัสได้จากงานศิลปะนั้น ๆ
งานศิลปะนั้น มีความงามทั้ง 2 ประเภทอยู่ร่วมกัน แต่อาจแสดงออกอย่างใดอย่างหนึ่ง มากน้อย ขึ้นอยู่กับ ประเภทของงาน เจตนาของผู้สร้าง และการรับรู้ของผู้ชมด้วย ความงามในศิลปะ เป็นการสร้างสรรค์แท้ ๆ ไม่เกี่ยวข้องกับความงามของธรรมชาติ เป็นความงามที่แสดงออกได้ แม้ในสิ่งที่น่าเกลียด หัวข้อ เรื่องราว หรือเนื้อหาที่ใช้สร้างงานนั้นอาจน่าเกลียด แต่เมื่อ เสร็จแล้ว ก็ยังปรากฎความงาม ที่เกิดจากอารมณ์ ที่ศิลปินแสดงออก
ดังนั้น ความงามจึงเป็นศาสตร์อย่างหนึ่ง ที่ว่าด้วยความงามที่ศิลปินแสดงออกในงานศิลปะ ซึ่งเรียกว่า " สุนทรียศาสตร์" มีข้อความที่ใช้กัน มาตั้งแต ่สมัยเรอเนซองค์จนถึงทุกวันนี้ว่า " ศิลปะมิได้จำลองความงาม แต่สร้างความงามขึ้น"
ขอบคุณข้อมูลจาก http://skm.nfe.go.th

ศิลปะ : ประเภทของศิลปะ


ปัจจุบัน ศิลปินได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะไว้มากมายหลายประเภท ซึ่งเรา สามารถแบ่ง ประเภทของศิลปะ ออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ตามประเภทของความงาม คือ
1. วิจิตรศิลป์ (Fine Art) คือศิลปะที่อำนวยประโยชน์ทางใจ ที่ มุ่งเน้นความงดงาม และความพึงพอใจ มากกว่าประโยชน์ใช้สอย หรือสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการ ทางด้านจิตใจ และอารมณ์ เป็นสำคัญ แบ่งออกเป็น 6 แขนง คือ
1.1 จิตรกรรม (ภาพเขียน)
1.2 ประติมากรม (ภาพปั้น)
1.3 สถาปัตยกรรม (งานก่อสร้าง)
1.4 วรรณกรรม (บทประพันธ์)
1.5 ดุริยางศิลป์ หรือ ดนตรี (การขับร้อง,การบรรเลง)
1.6 นาฏศิลป
์ (การ่ายรำ,การละคร)

2. ประยุกต์ศิลป์ (Applied Art) คือศิลปะที่อำนวยประโยชน์ทางกายมุ่งเน้นประโยชน์ทางการใช้สอย
มากกว่าความงาม หรือสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการ ทางร่างกาย แบ่งออกเป็น
5 แขนง คือ
1.1 พาณิชย์ศิลป์ (ศิลปะเพื่อประโยชน์ทางการค้า)
1.2 มัณฑนศิลป์ (ศิลปะการตกแต่ง)
1.3 อุตสาหกรรมศิลป์ (ศิลปะออกแบบผลิตภัณฑ์)
1.4 หัตถศิลป์ (ศิลปะที่ใช้ฝีมือ)
1.5 ประณีตหัตถศิลป์ (ศิลปะการช่างฝีมือชั้นสูง)

จากความหมาย ความงาม และประเภทของศิลปะ เราสามารถสรุปได้ว่า ศิลปะคือสิ่งที่มนุษย์ สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อความงามและความพอใจ สิ่งใดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แม้จะมี ความงดงาม ก็หาใช่ศิลปะไม่ ดังเช่น พระอาทิตย์กำลังจมลงทะเล ดอกไม้หลากสีสวยงาม ความงามและความพึงพอใจของศิลปะมี 2 ประเภท คือ
  • ความงามทางกาย
  • และความงามทางใจ
ความงามทางกายเป็นศิลปะที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของเรา เราสัมผัส และเห็นคุณค่า ได้อย่าง เป็นรูปธรรม ส่วนความงามทางใจเป็นศิลปะที่มีคุณค่าทางนามธรรม ทำให้เรามีความเป็นมนุษย์ ที่สมบูรณ์ สามารถ ดำเนินวิถีชีวิตได้อย่างมีความสุข เฉกเช่น การปฏิบัติศีลในพระพุทธศาสนา
ดังนั้น ศิลปะจึงมีความผูกพันกับชีวิตความเป็นอยู่ของเราอย่างขาดไม่ได้ เราจะพบศิลปะอยู่ในทุกหน ทุกแห่ง ที่เราผ่านไป คล้ายกับอากาศที่เราหายใจเข้าไปทีเดียว
ขอบคุณข้อมูลจาก http://skm.nfe.go.th

ศิลปะ : การมีศิลปะและคนศิลปะ


คุณสมบัติของคนศิลปะ
คนที่มีศิลปะในตัวตนจำเป็นต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
1. เป็นคนมีศรัทธา มีความเชื่อมั่น และตั้งใจมั่น ในสิ่งที่จะทำ ว่าเป็นสิ่งดีจริง มีประโยชน์จริง และจะต้องทำให้สำเร็จ
2. เป็นคนไม่ขี้โรค รู้จักระวังดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง
3. เป็นคนถ่อมตน เพราะคนโอ้อวดไม่มีใครอยากสอน ไม่มีใครอยากแนะนำ คนพวกนี้มัวแต่อวด มัวแต่คุย จนไม่มีเวลาฝึกฝีมือตัวเอง
4. เป็นคนขยัน มีความมานะพากเพียร อดทน
5. เป็นคนมีปัญญา รู้จักพินิจพิจารณาช่างสังเกต

วิธีฝึกตนให้มีศิลปะ
ศิลปะในตัวตน เปรียบเหมือน "พรสวรรค์" ซึ่งคงไม่สำคัญมากกว่าการมีพรแสวง คือการฝึกฝนตนเองให้ มีศิลปะ โดยมีวิธีการ ดังนี้
1. ฝึกตนเองให้เป็นคนช่างสังเกต รู้จักหาจุดเด่นของสิ่งรอบตัว
2. ตั้งใจทำงานทุกอย่างที่มาถึงตนให้ดีที่สุด อย่าดูถูกงาน อย่าเกี่ยงงาน
3. ตั้งใจทำงานทุกอย่างด้วยความประณีต ละเอียดลออ
4. ตั้งใจปรับปรุงงานให้ดีขึ้นเสมอ
5. หมั่นใกล้ชิดกับผู้มีศิลปะ
6. ฝึกสมาธิอยู่เสมอ เพื่อให้ใจสงบผ่องใส เกิดปัญญาที่จะฝึกและปรับปรุงตนเอง
ให้มีคุณสมบัติของผู้มีศิลปะได้

ข้อดีของการมีศิลปะ
ศิลปะนอกจากมีความผูกพันกับชีวิตของเราแล้ว ศิลปะยังมีส่วนผูกพันอย่างแนบแน่นกับหลักธรรม ทาง พระพุทธศาสนา ดังพุทธพจน์ บทหนึ่งที่กว่าไว้ว่า “ผู้มีศิลปะแม้เพียงอย่างเดียว ก็สามารถเลี้ยงชีพได้โดยง่าย ” การมีศิลปะทั้งที่เป็นพรสวรรค์ หรือพรแสวง ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว จึงเกิดผลดีกับผู้มี หรือฝึกฝนให้มีศิลปะ ดังนี้
1. ทำคนให้เป็นคน
2. ทำคนให้ดีกว่าคน
3. ทำคนให้เด่นกว่าคน
4. ทำคนให้เลิศกว่าคน
5. ทำคนให้ประเสริฐกว่าคน
6. ทำคนให้สูงกว่าคน
7. ทำคนให้เลี้ยงตัวได้
8. ทำคนให้ฉลาด
9. ทำคนให้มั่งคั่งสมบูรณ์
10. ทำคนให้ประเสริฐ
11. ทำคนให้ได้รับความสุขทั้งโลกนี้โลกหน้า
12. ทำโลกให้เจริญทั้งด้านวัตถุและจิตใจ
ขอบคุณข้อมูลจาก http://skm.nfe.go.th

ศิลปะการใช้สี : ความหมายและความสำคัญของสี


เราเรียนรู้เรื่องศิลปะมาจนสามารถบอกได้แล้วว่า ศิลปะคืออะไร ศิลปะแตกต่างจากธรรมชาติอย่างไร คราวนี้เรา ลองหลับตานึกภาพดูซิว่า ถ้าโลกเราไม่มีสีเลย ทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเรา มีแต่สีขาวกับสีดำ ไฟจราจรมีแต่ขาวกับดำ แต่งตัวด้วยเสื้อผ้าสีขาวกับดำ ต้นไม้ ดอกไม้มีแต่สีขาวกับดำ จะเป็นอย่างไร เราคง อึดอัด หดหู่ดูไม่มีชีวิตชีวา ฉะนั้น "สี" จึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในชีวิตของเรา เพราะสีช่วยให้ชีวิตของเราดูสดใส ร่าเริง หรือเศร้าหมอง ก็ได้ ช่วยให้เราเข้าใจสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ง่ายขึ้น เราจึงจำเป็น ต้องรู้จักกับ "สี" ก่อน เพราะในชีวิตของเรา หรือ ในงานศิลปะ สี ช่วยให้เกิดความงาม ความรู้สึก เพราะสีมีความหมายเฉพาะตัวของแต่ละสี อยู่ แต่ ก่อนที่เรา จะศึกษาบทเรียนเรื่อง “ ศิลปะการใช้สี ” เรามาทำความเข้าใจ รู้จัก ความหมาย และความสำคัญ ของสี ที่มี ต่อวิถีชีวิตของเราอย่างไรก่อนเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
ความหมายของสี
สี หมายถึง แสงที่มากระทบวัตถุแล้วสะท้อนเข้าตาเรา ทำให้เห็นเป็นสีต่างๆ การที่เรามองเห็นวัตถุเป็นสีใดๆ ได้ เพราะวัตถุนั้นดูดแสงสีอื่น สะท้อนแต่สีของมันเอง เช่น วัตถุสีแดง เมื่อมีแสงส่องกระทบ ก็จะดูดทุกสี สะท้อนแต่สีแดง ทำให้เรามองเห็นเป็นสีแดง
เรารับรู้สีได้เพราะ เมื่อสามร้อยกว่าปีที่ผ่านมา ไอแซก นิวตัน ได้ค้นพบ ว่า แสงสีขาวจาก ดวงอาทิตย์เมื่อหักเห ผ่านแท่งแก้วสามเหลี่ยม ( prism) แสงสีขาวจะกระจายออกเป็นสีรุ้ง เรียกว่า สเปคตรัม มี 7 สี ได้แก่ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง ส้ม แดง (ศักดา ศิริพันธุ์. 2527 : 5 อ้างถึงใน http://rbu.qru.ac.th/~somsak/design/ lesson5/ lesson_5.html ) และได้มีกำหนดให้เป็นทฤษฎีสีของแสงขึ้น ความจริงสีรุ้งเป็นปรากฏการณ์ ตาม ธรรมชาติ ซึ่งเกิดขึ้น และพบเห็นกันบ่อยๆ อยู่แล้ว โดยเกิดจากการหักเห ของ แสงอาทิตย์หรือ แสงสว่าง เมื่อผ่าน ละอองน้ำในอากาศ
ซึ่งลักษณะกระทบต่อสายตาให้เห็นเป็นสี มีผลถึงจิตวิทยา คือมีอำนาจให้เกิดความเข้มของแสง ที่อารมณ์ และความรู้สึกได้ การที่ได้เห็นสีจากสายตา สายตาจะส่งความรู้สึกไปยังสมองทำให้เกิดความรู้สึกต่างๆ ตาม อิทธิพลของสี เช่น สดชื่น เร่าร้อน เยือกเย็น หรือตื่นเต้น มนุษย์เราเกี่ยวข้องกับสีต่างๆ อยู่ตลอดเวลาเพราะ ทุกสิ่ง ที่อยู่รอบตัวนั้น ล้วนแต่มีสีสันแตกต่างกันมากมาย
ความสำคัญของสีที่มีต่อวิถีชีวิตของเราสีเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของเราอย่างมาก นับแต่สมัยดึกดำบรรพ์ จนถึงปัจจุบัน เราได้นำสีมา ใช้ ให้เกิดประโยชน์โดยใช้เป็นสัญลักษณ์ในการถ่ายทอด ความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง สีจึงเป็นสิ่งที่ควรศึกษา เพื่อ ใช้ประโยชน์กับวิถีชีวิตของเรา เพราะสรรพสิ่งทั้งหลายที่แวดล้อมตัวเราประกอบไปด้วยสี ทั้งสิ้น ในงานศิลปะ สีเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่ง และในวิถีชีวิตของเราสีเป็นองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อ ความรู้สึก อารมณ์ และจิตใจ ได้มากกว่าองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น
1 . ใช้ในการจำแนกสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เห็นชัดเจน
2 . ใช้ในการจัดองค์ประกอบของสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสวยงาม กลมกลืน เช่น การแต่งกาย การจัดตกแต่งบ้าน
3 . ใช้ในการจัดกลุ่ม พวก คณะ ด้วยการใช้สีต่าง ๆ เช่น คณะสี เครื่องแบบต่าง ๆ
4 . ใช้ในการสื่อความหมาย เป็นสัญลักษณ์ หรือใช้บอกเล่าเรื่องราว
5 . ใช้ในการสร้างสรรค์งานศิลปะ เพื่อให้เกิดความสวยงาม สร้างบรรยากาศ สมจริงและน่าสนใจ
6 . เป็นองค์ประกอบในการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ของ มนุษย์

สีที่อยู่รอบตัวเรานั้นมีที่มา 3 ทาง คือ
1 . สสารที่มีอยู่ตามธรรมชาติ และนำมาใช้โดยตรง หรือด้วยการสกัด ดัดแปลงบ้าง จากพืช สัตว์ ดิน แร่ธาตุต่าง ๆ
2 . สสารที่ได้จากการสังเคราะห์ซึ่งผลิตขึ้นโดยกระบวนการทางเคมี เป็นสารเคมีที่ผลิตขึ้น เพื่อให ้สามารถ นำมาใช้ได้ สะดวกมากขึ้น ซึ่งเป็นสีที่เราใช้อยู่ทั่วไปในปัจจุบัน
3 . แสง เป็นพลังงานชนิดเดียวที่ให้สี โดยอยู่ในรูปของรังสี (Ray) ที่มีความเข้มของแสง อยู่ในช่วง ที่สายตา มองเห็นได้

ปัจจุบัน มนุษย์เรามีวิวัฒนาการมากขึ้น เกิดคตินิยมในการรับรู้ และชื่นชมในความงามทางสุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) สีจึงได้รับการพัฒนาเพื่อนำมาใช้อย่างกว้างขวางและวิจิตรพิสดาร จากเดิมที่เคยใช้สีเพียงไม่กี่สี ซึ่งเป็นสีตามธรรมชาติ ได้นำมาประดิษฐ์ คิดค้น และผลิต สีรูปแบบใหม่ ๆ ออกมาเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิด การสร้างสรรค์ความงามอย่างไม่มีขีดจำกัด โดยมีการพัฒนามาเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง
ขอบคุณข้อมูลจาก http://skm.nfe.go.th

ศิลปะการใช้สี : แม่สี


ในวิถีชีวิตของเรา ทุกคนรู้จัก เคยเห็น เคยใช้สี และสามารถบอกได้ว่าสิ่งใดเป็น สีแดง สีเหลือง สีเขียว สีฟ้า สีม่วง สีขาว และสีอื่น ๆ แต่เป็นเพียงรู้จัก และเรียกชื่อสีได้ถูกต้องเท่านั้น จะมีพวกเรากี่คนที่จะรู้จักสีได้ลึกซึ้ง เพราะ เรายังขาดสื่อการเรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้นั่นเอง ปัจจุบันนี้ เรายังมองข้ามหลักวิชา ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ประจำวันของเราอยู่ ถ้าเรารู้จักหลักการเบื้องต้นของสี จะทำให้เราสามารถเขียน ระบาย หรือ เลือกประยุกต์ใช้สี เพื่อสร้างความสุขในการดำเนินวิถีชีวิตของเราได้ดีขึ้น นักวิชาการสาขาต่างๆ ได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องสี จนเกิดเป็นทฤษฎีสี ตามหลักการของนักวิชาการสาขานั้นๆ ดังนี้
แม่สีของนักฟิสิกส์ (แม่สีของแสง) (spectrum primaries)
คือสีที่เกิดจากการผสมกันของคลื่นแสง มีแม่สี 3 สี คือ
1. สีแดง (Red)
2. สีเขียว (Green)
3. สีน้ำเงิน (Blue)
เมื่อนำแม่สีของแสงมาผสมกันจะเกิดเป็นสีต่างๆ ดังนี้
1. สีม่วงแดง (Magenta) เกิดจากสีแดง (Red) ผสมกับสีน้ำเงิน (Blue)
2. สีฟ้า (Cyan) เกิดจากสีเขียว (Green) ผสมกับสีน้ำเงิน (Blue)
3. สีเหลือง (Yellow) เกิดจากสีเขียว (Green) ผสมกับสี แดง (Red)
และเมื่อนำแม่สีทั้ง 3 มาผสมกัน จะได้สีขาว

แม่สีของนักจิตวิทยา (psychology primaries) คือสีที่มีผลต่อความรู้สึกของมนุษย์ ในด้านจิตใจ ซึ่งจะกล่าวในเรื่อง "ความรู้สึกของสี" นักจิตวิทยาแบ่งแม่สี เป็น 4 สี คือ
1. สีแดง (Red)
2. สีเหลือง (Yellow)
3. สีเขียว (Green)
4. สีน้ำเงิน (Blue)
เมื่อนำแม่สี 2 สีที่อยู่ใกล้กันในวงจรสี มาผสมกันจะเกิดเป็นสีอีก 4 สี ดังนี้
1. สีส้ม (orange) เกิดจากสี แดง (Red) ผสมกับสี เหลือง (Yellow)
2. สีเขียวเหลือง (yellow-green) เกิดจากสี เหลือง (Yellow) ผสมกับสีเขียว (Green)
3. สีเขียวน้ำเงิน (blue green) เกิดจากสี เขียว (Green) ผสมกับสีน้ำเงิน (Blue)
4. สีม่วง (purple) เกิดจากสี แดง (Red) ผสมกับสีน้ำเงิน (Blue)

แม่สีของนักเคมี (pigmentary primaries) คือสีที่ใช้ในวงการอุตสาหกรรมและวงการศิลปะ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สีวัตถุธาตุ ที่เรากำลังศึกษาอยู่ใน ขณะนี้ โดยใช้ในการเขียนภาพเกี่ยวกับพาณิชยศิลป์ ภาพโฆษณา ภาพประกอบเรื่อง ซึ่งในหลักการเดียวกันทั้งสิ้น ประกอบด้วย
สีขั้นที่ 1 (Primary Color) คือ สีพื้นฐาน มีแม่สี 3 สี ได้แก่
1. สีเหลือง (Yellow)
2. สีแดง (Red)
3. สีน้ำเงิน (Blue)

สีขั้นที่ 2 (Secondary color)
คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 หรือแม่สีผสมกันในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะทำให้เกิดสีใหม่ 3 สี ได้แก่
1. สีส้ม (Orange) เกิดจาก สีแดง (Red) ผสมกับสีเหลือง(Yellow)
2. สีม่วง (Violet) เกิดจาก สีแดง (Red) ผสมกับสีน้ำเงิน(Blue)
3. สีเขียว (Green) เกิดจาก สีเหลือง (Yellow) ผสมกับสีน้ำเงิน (Blue)

สีขั้นที่ 3 (Intermediate Color)
คือสีที่เกิดจากการผสมกันระหว่างสีของแม่สีกับสีขั้นที่ 2 จะเกิดสีขึ้นอีก 6 สี ได้แก่
1. สีน้ำเงินม่วง ( Violet-blue) เกิดจาก สีน้ำเงิน (Blue)ผสมสีม่วง (Violet)
2. สีเขียวน้ำเงิน ( Blue-green) เกิดจาก สีน้ำเงิน (Blue)ผสมสีเขียว (Green)
3. สีเหลืองเขียว ( Green-yellow) เกิดจาก สีเหลือง(Yellow)ผสมกับสีเขียว (Green)
4. สีส้มเหลือง ( Yellow-orange) เกิดจาก สีเหลือง (Yellow)ผสมกับสีส้ม (Orange)
5. สีแดงส้ม ( Orange-red) เกิดจาก สีแดง (Red) ผสมกับสีส้ม (Orange)
6. สีม่วงแดง ( Red-violet) เกิดจาก สีแดง (Red) ผสมกับสีม่วง (Violet)

เราสามารถผสมสีเกิดขึ้นใหม่ได้อีกมากมายหลายร้อยสีด้วยวิธีการเดียวกันนี้ ตามคุณลักษณะของสีที่จะกล่าวต่อไป
จะเห็นได้ว่าทฤษฎีสีดังกล่าวมีผลให้เราสามารถนำมาใช้เป็นหลักในการเลือกสรรสีสำหรับงานสร้างสรรค์ ของเราได้ ซึ่งงานออกแบบมิได้ถูกจำกัดด้วยกรอบความคิดของทฤษฎีตามหลักวิชาการเท่านั้น แต่เราสามารถ คิดออกนอกกรอบแห่งทฤษฎีนั้นๆ ได้ เท่าที่มันสมองของเราจะเค้นความคิดสร้างสรรค์ออกมาได้
สีขั้นที่ 1
ขอบคุณข้อมูลจาก http://skm.nfe.go.th