วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การโฆษณา : การสร้างสรรค์โฆษณา


การสร้างสรรค์โฆษณา (Advertising Execution)
การสร้างสรรค์งานโฆษณา (Advertising Execution ) คือ วิธีการที่นำเสนอสิ่งจูงใจของโฆษณา ได้แก่
การให้ข่าวสารการขายโดยตรงหรือข้อเท็จจริง (Straight Sell or Factual Message ) คือการให้ข่าวสารการขายโดยตรง โฆษณาประเภทนี้ใช้การนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการอย่างตรงไปตรงมา การสร้างสรรค์นี้มักใช้กับแรงจูงใจด้านข้อมูล/อารมณ์ โดยจุดเน้นของข้อความคือ สินค้าหรือบริการและคุณลักษณะเฉพาะและประโยชน์
การใช้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ / เทคนิค ( Scientific/ Evidence)
นอกจากการให้ข่าวสารการขายตรงแล้ว ยังมีการใช้หลักฐานทางวิทยาสาสตร์หรือเทคนิคในงานโฆษณาอีกด้วย ผู้โฆษณามักจะเน้นถึงข้อมูลเชิงเทคนิค ผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์หรือผลที่ได้รับจากห้องทดลองหรือการรับรองโดยหน่วยงานวิทยาศาสตร์เพื่อให้การสนับสนุนการกล่าวอ้างเพื่อสนับสนุนงานโฆษณา เช่น การรับรองจากทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญว่าปกป้องกลิ่นปาก คือ ยาสีฟันเดนทิสเต้ ซึ่งทำให้ผู้บริโภคจดจำตราสินค้าได้
การสาธิต (Demonstration)
การสาธิต (Demonstration) การแสดงแบบโฆษณาตัวอย่าง ได้รับการออกแบบเพื่อแสดงข้อได้เปรียบสำคัญของสินค้าและบริการ โดยแสดงสถานการณ์จริงต่างๆในการใช้งาน การสร้างสรรค์โดยใช้การสาธิตตัวอย่างอาจมีประสิทธิภาพสูงในการโน้มน้าวให้ผู้บริโภคเห็นถึงคุณประโยชน์หรือคุณภาพที่จะได้รับจากการเป็นเจ้าของสินค้า การโฆษณาทางโทรทัศน์ วิธีการโฆษณาหนึ่งที่จะเหมาะสมสำหรับการสาธิตตัวอย่าง เพราะสามารถแสดงประโยชน์ของสินค้าผ่านทางหน้าจอโทรทัศน์ได้
การเปรียบเทียบ (Comparison)
การเปรียบเทียบตราสินค้าเป็นพื้นฐานของการสร้างสรรค์งานโฆษณา โดยได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้โฆษณา เนื่องจากเป็นวิธีการการสื่อสารข้อดีหรือลักษณะเฉพาะของตราสินค้าโดยตรงโดยเปรียบเทียบกับคู่แข่ง จัดวางตำแหน่งตราสินค้าใหม่ ใช้เปรียบเทียบกับผู้นำของอุตสาหกรรม
กลุ่มเป้าหมายรู้จักดี หรือเป็นคนที่มีเรื่องราวน่าสนใจในการนำเสนอการโฆษณาลักษณะนี้จะต้องเกิดขึ้นจากการใช้สินค้าหรือบริการจริงเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมายและผู้ที่ให้ข้อมูลจะต้องเชื่อถือได้
เสี้ยวหนึ่งของชีวิต (Slice of life)
เสี้ยวหนึ่งของชีวิต (Slice of life) เป็นหนึ่งในรูปแบบการโฆษณาที่มีการใช้งานกว้างขวางที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าสำเร็จรูป (Packaged-Good) คือการสร้างสรรค์ในรูปแบบเสี้ยวหนึ่งของชีวิต ซึ่งโดยทั่วไปจะขึ้นอยู่กับการกล่าวถึงปัญหา/การแก้ไข โฆษณาลักษณะนี้จะกล่าวถึงปัญหาหรือความขัดแย้งที่ผู้บริโภคอาจพบในชีวิตประจำวัน และโฆษณาอาจแสดงวิธีการแก้ไขปัญหาโดยใช้สินค้าหรือบริการที่ต้องการ
ภาพเคลื่อนไหว (Animation)
ภาพเคลื่อนไหว (Animation) คือ การใช้ภาพเคลื่อนไหว ด้วยเทคนิคนี้จะมีการสร้างซีนภาพเคลื่อนไหว ซึ่งอาจวาดด้วยศิลปิน หรือสร้างขึ้นจากคอมพิวเตอร์ อาจเป็นรูปการ์ตูน สัตว์เลี้ยงหรือคาแรกเตอร์อื่นๆ ภาพเคลื่อนไหวในลักษณะการ์ตูน สัตว์เลี้ยงหรือคาแรกเตอร์อื่นๆ มักจะได้รับความนิยมสำหรับโฆษณาที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็ก แต่ก็มีการใช้ภาพเคลื่อนไหวที่เป็นการ์ตูนในแคมเปญอื่นๆ เช่นกัน
การโฆษณาโดยการใช้ภาพลักษณ์ (Imagery)
โฆษณาในลักษณะนี้มักจะใช้พื้นฐานสำหรับแรงดึงดูดทางอารมณ์เพื่อโฆษณาสินค้าหรือบริการซึ่งสามารถระบุความแตกต่างทางกายภาพได้ค่อนข้างยาก อาทิเช่น เครื่องดื่ม สุรา เสื้อผ้าของดีไซน์เนอร์และเครื่องสำอาง ภาพลักษณ์นับว่ามีความสำคัญสำหรับสินค้าและบริการทุกชนิด เนื่องจากนักการตลาดต้องการให้กลุ่มเป้าหมายมีความชื่นชอบต่อลักษณะที่เชื่อมโยงทางจิตวิทยากับบริษัทหรือตราสินค้านั้นๆ
อารมณ์ขัน (Humor)
อารมณ์ขัน (Humor) เช่นเดียวกับการเปรียบเทียบ การใช้อารมณ์ขันเป็นสิ่งจูงใจชนิดหนึ่งซึ่งใช้กันในการสร้างสรรค์งานโฆษณา แต่เทคนิคนี้สามารถใช้เพื่อแสดงแรงจูงใจสำหรับการโฆษณาอื่นๆได้อีก การสร้างสรรค์งานโฆษณาโดยใช้อารมณ์ขัน (Humorous Executions) เหมาะสมอย่างยิ่งผ่านการสื่อสารทางโทรทัศน์หรือวิทยุ แม้ว่าจะมีการพยายามใช้ในสื่อสิ่งพิมพ์บ้างก็ตาม โดยจุดแข็งหรือจุดด้อยของการใช้อารมณ์ขันเป็นเทคนิคการสร้างสรรค์จะเหมือนกับการใช้เป็นแรงจูงใจ
การผสมผสาน(Combinations)
การผสมผสาน (Combinations) สามารถใช้เทคนิคการสร้างสรรค์หลายชนิดผสมผสานกันเพื่อนำเสนอข้อความของการโฆษณา เช่น ภาพเคลื่อนไหวมักจะมีการใช้เพื่อสร้างบุคลิกเชิงสัญลักษณ์ หรือนำเสนอสิ่งที่เหนือจริง โฆษณาในลักษณะเสี้ยวหนึ่งของชีวิตมักจะมีการใช้เพื่อสาธิตถึงสินค้าหรือบริการ ในบางครั้งการเปรียบเทียบมีการนำมาใช้โดยผสมผสานการสอดแทรกอารมณ์ขัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น