ปัจจุบัน ศิลปินได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะไว้มากมายหลายประเภท ซึ่งเรา สามารถแบ่ง ประเภทของศิลปะ ออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ตามประเภทของความงาม คือ
1. วิจิตรศิลป์ (Fine Art) คือศิลปะที่อำนวยประโยชน์ทางใจ ที่ มุ่งเน้นความงดงาม และความพึงพอใจ มากกว่าประโยชน์ใช้สอย หรือสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการ ทางด้านจิตใจ และอารมณ์ เป็นสำคัญ แบ่งออกเป็น 6 แขนง คือ
1.1 จิตรกรรม (ภาพเขียน)
1.2 ประติมากรม (ภาพปั้น)
1.3 สถาปัตยกรรม (งานก่อสร้าง)
1.4 วรรณกรรม (บทประพันธ์)
1.5 ดุริยางศิลป์ หรือ ดนตรี (การขับร้อง,การบรรเลง)
1.6 นาฏศิลป์ (การ่ายรำ,การละคร)
2. ประยุกต์ศิลป์ (Applied Art) คือศิลปะที่อำนวยประโยชน์ทางกายมุ่งเน้นประโยชน์ทางการใช้สอย
มากกว่าความงาม หรือสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการ ทางร่างกาย แบ่งออกเป็น
5 แขนง คือ
1.1 พาณิชย์ศิลป์ (ศิลปะเพื่อประโยชน์ทางการค้า)
1.2 มัณฑนศิลป์ (ศิลปะการตกแต่ง)
1.3 อุตสาหกรรมศิลป์ (ศิลปะออกแบบผลิตภัณฑ์)
1.4 หัตถศิลป์ (ศิลปะที่ใช้ฝีมือ)
1.5 ประณีตหัตถศิลป์ (ศิลปะการช่างฝีมือชั้นสูง)
จากความหมาย ความงาม และประเภทของศิลปะ เราสามารถสรุปได้ว่า ศิลปะคือสิ่งที่มนุษย์ สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อความงามและความพอใจ สิ่งใดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แม้จะมี ความงดงาม ก็หาใช่ศิลปะไม่ ดังเช่น พระอาทิตย์กำลังจมลงทะเล ดอกไม้หลากสีสวยงาม ความงามและความพึงพอใจของศิลปะมี 2 ประเภท คือ
- ความงามทางกาย
- และความงามทางใจ
ความงามทางกายเป็นศิลปะที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของเรา เราสัมผัส และเห็นคุณค่า ได้อย่าง เป็นรูปธรรม ส่วนความงามทางใจเป็นศิลปะที่มีคุณค่าทางนามธรรม ทำให้เรามีความเป็นมนุษย์ ที่สมบูรณ์ สามารถ ดำเนินวิถีชีวิตได้อย่างมีความสุข เฉกเช่น การปฏิบัติศีลในพระพุทธศาสนา
ดังนั้น ศิลปะจึงมีความผูกพันกับชีวิตความเป็นอยู่ของเราอย่างขาดไม่ได้ เราจะพบศิลปะอยู่ในทุกหน ทุกแห่ง ที่เราผ่านไป คล้ายกับอากาศที่เราหายใจเข้าไปทีเดียว
ขอบคุณข้อมูลจาก http://skm.nfe.go.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น