วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การโฆษณา : สิ่งจูงใจ


สิ่งจูงใจและรูปแบบการใช้งาน
สิ่งจูงใจในการโฆษณา (Advertising Appeals )หมายถึง วิธีการซึ่งใช้เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคและเพื่อโน้มน้าวให้เกิดความรู้สึกต่อสินค้า สิ่งจูงใจในการโฆษณายังอาจมองเป็นบางสิ่งที่ผลักดันให้บุคคลพูดถึงเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการและสามารถทำให้เกิดความสนใจ
รูปแบบการครีเอทีฟ(Creative Execution Style) คือวิธีการที่สิ่งจูงใจถูกเปลี่ยนเป็นข้อความโฆษณาเพื่อแสดงต่อผู้บริโภค
สิ่งจูงใจในการโฆษณา (Advertising Appeals )
สิ่งจูงใจด้านข้อมูล/เหตุผล ( Information/Rational Appeals) สิ่งจูงใจลักษณะนี้จะมุ่งเน้นถึงข้อเท็จจริง การใช้งาน หรือความจำเป็นของสินค้าหรือบริการที่มีต่อผู้บริโภค จากนั้นจึงเน้นเกี่ยวกับคุณลักษณะของสินค้าหรือบริการและคุณประโยชน์ ผู้โฆษณาจะใช้สิ่งจูงใจลักษณะนี้เพื่อโน้มน้าวผู้บริโภคว่าสินค้าหรือบริการของตนมีคุณลักษณะเฉพาะที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้
สิ่งจูงใจด้านราคาที่ดึงดูดใจ (Favorable Price Appeal )
ราคาเป็นส่วนสำคัญของข้อความโฆษณาที่ใช้สิ่งจูงใจในลักษณะนี้มักจะใช้กับผู้ค้าปลีก โฆษณาในลักษณะนี้จะใช้งานโดยผู้โฆษณารายใหญ่ระดับชาติระหว่างช่วงถดถอยของเศรษฐกิจเท่านั้น นอกจากนี้เช่นฟาสต์ฟู้ดยังใช้กลยุทธ์นี้เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่สำคัญในการส่งเสริมเมนุสุดคุ้มของตน นอกจากนี้ยังมีสินค้าและบริการประเภทอื่นๆ ที่ใช้จูงใจในลักษณะนี้ในบางครั้งเช่นกัน เช่น สายการบิน บริษัทรถเช่า
สิ่งจูงใจทางด้านข่าว (New Appeals)
สิ่งจูงใจในลักษณะนี้เกิดจากการประกาศหรือการให้ข่าวเกี่ยวกับสินค้า บริการ หรือบริษัทที่ให้ข่าว สิ่งจูงใจลักษณะนี้สามารถใช้กับสินค้าหรือบริการใหม่ที่เข้าสู่ตลาดเพื่อแจ้งให้ผู้บริโภคทราบถึงการปรับเปลี่ยนที่สำคัญ หรือการพัฒนาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการ สิ่งจูงใจลักษณะนี้สามารถใช้ได้ดีที่สุดเมื่อบริษัทมีข่าวสารใหม่ๆที่สำคัญและต้องการสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย เช่น รถยนต์ Honda
สิ่งจูงใจด้านความนิยมของสินค้า/บริการ (Product /Service Popularity Appeals )
สิ่งจูงใจลักษณะนี้จะมุ่งเน้นที่ความนิยมเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการเป็นสำคัญโดยระบุ จำนวนผู้บริโภคที่ใช้ตราสินค้า จำนวนผู้เชี่ยวชาญที่แนะนำให้ใช้สินค้านั้นๆ การระบุถึงตำแหน่งผู้นำตลาด
ประเด็นหลักของการโฆษณาของลักษณะนี้คือ การใช้ตราสินค้าในวงกว้างย่อมพิสูจน์คุณภาพของสินค้าหรือมูลค่าได้อย่างชัดเจน จึงเป็นเหตุผลที่ผู้บริโภคอื่นๆ ควรหันมาใช้หรือบริการดังกล่าวด้วย
สิ่งจูงใจด้านอารมณ์ (Emotional Appeals)
จะเกี่ยวข้องกับความต้องการด้านสังคมหรือจิตวิทยาของผู้บริโภคสำหรับการชื้อสินค้าหรือบริการนั้นๆ สำหรับผู้บริโภคจำนวนหนึ่งในการตัดสินใจชื้อสิ่งจูงใจด้านอารมณ์และความรู้สึกที่มีต่อตราสินค้ามีความสำคัญมากกว่าความรู้หรืคุณลักษณะของสินค้า ผู้โฆษณาสำหรับสินค้าและบริการหลายประเภทมีมุมมองต่อการโฆษณาที่ใช้สิ่งจูงใจด้านเหตุผลหรือข้อมูลว่าเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม โดยเชื่อว่าความรู้สึกของผู้บริโภคมีผลต่อการขายได้มากกว่า
การผสมผสานสิ่งจูงใจด้านเหตุผลและอารมณ์
การผสมผสานสิ่งจูงใจด้านเหตุผลและอารมณ์ ในสถานการณ์ต่างๆ สำหรับการโฆษณา ผู้เชี่ยวชาญด้านครีเอทีฟจะไม่สามารถเลือกใช้สิ่งจูงใจด้านอารมณ์หรือเหตุผลอย่างหนึ่งอย่างใด แต่ต้องตัดสินใจใช้สิ่งจูงใจทั้งสองลักษณะผสมผสานกัน
การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคมักจะกระทำโดยใช้พื้นฐานทั้งจากสิ่งจูงใจด้านเหตุผลและอารมณ์ โดยต้องให้ความสนใจต่อองค์ประกอบทั้งสองในการพัฒนาแคมเปญโฆษณาที่มีประสิทธิภาพ
สิ่งจูงใจประเภทอื่นๆ
โฆษณาบางประเภทอาจไม่เหมาะกับการใช้สิ่งจูงใจด้านเหตุผลหรืออารมณ์ เช่น โฆษณาสำหรับตราสินค้าบางชนิดอาจได้รับการจัดเข้าในกลุ่มการโฆษณาเพื่อเตือนความทรงจำ (Reminder Advertising) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการสร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับตราสินค้าหรือการรักษาชื่อตราสินค้าให้อยู่ในใจผู้บริโภคอยู่เสมอ ตราสินค้าซึ่งเป็นที่รู้จักดีและเป็นผู้นำตลาดมักจะใช้การโฆษณาในลักษณะนี้
นอกจากนี้ยังสามารถใช้ได้กับสินค้าที่มีลักษณะการขายเป็นฤดูกาล
ผู้โฆษณาที่แนะนำสินค้าใหม่ๆมักจะใช้การโฆษณาแบบ ทีเซอร์ (Teaser Advertising) นักการตลาดมักจะใช้ทีเซอร์หรือโฆษณาที่ชวนสงสัยเพื่อดึงดูดความสนใจเกี่ยวกับแคมเปญโฆษณาที่กำลังจะเปิดตัวเพื่อสร้างความสนใจรวมถึงการให้ข่าวเกี่ยวกับโฆษณาดังกล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น