วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การออกแบบงานกราฟฟิก : เนื้อสี


เนื้อสี Hue
สีเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญในการออกแบบ สีมีอิทธิพลในเรื่องของอารมณ์การสื่อความหมายที่เด่นชัด และกระตุ้นต่อการรับรู้ของคนเราได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้เรื่องของสียังเป็นเรื่องสำคัญในการออกแบบ เพื่อความสวยงาม สื่อความหมาย งานบางชิ้นที่ออกแบบมาดี แต่ถ้าใช้สีไม่เป็น อาจทำให้งานทั้งหมดที่ทำมาพังได้ง่าย ๆ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องรู้จักสี และเลือกใช้สีให้เป็น
ก่อนอื่นเรามารู้จักองค์ประกอบของสีกันก่อนองค์ประกอบของสีในงานออกแบบนั้น มีคุณสมบัติอยู่ 3 ประการคือ
1. สี,เนี้อสี (Hue)
2. น้ำหนักสี (Value / Brightness)
3. ความสดของสี (Intensity / Saturation)

สี, เนื้อสี Hue
เนื้อสี หรือ Hue คือความแตกต่างของสีบริสุทธิ์แต่ละสี ซึ่งเราจะเรียกเป็นชื่อสี เช่น สีแดง สีน้ำตาล สีม่วง เป็นต้น โดยแบ่งเนื้อสีออกเป็น 2 ชนิด


1. สีของแสง (Coloured Light) สีของแสง คือความแตกต่างสั้นยาวของคลื่นแสงที่เรามองเห็น เริ่มจากสีม่วงไปสีแดง
(เหมือนรุ่งกินน้ำที่เรามองเห็นหลังฝนตก)

2. สีของสาร (Coloured Pigment)
สีของสาร คือสีที่เรามองเห็นบนวัตถุต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากการดูดซืมและสะท้อนของความยาวคลื่นแสง

จากการที่เรามองเห็นสีของสารต่าง ๆ นี่เองจึงค้นพบว่ามีสีอยู่ 3 สี ที่เป็นต้นกำเนิดของสีือื่น ๆ ที่ไม่สามารถสร้างหรือผสมให้เกิดจากสีอื่นได้ หรือที่เรียกกันว่า " แม่สี " ได้แก่ แดง,เหลือง,น้ำเงิน
การผสมสี
จริง ๆแล้วสีต่าง ๆ ที่เรามองเห็นเกิดจากการผสมสีใน 2 รูปแบบ คือ
การผสมสีแบบบวก (Additive Color Mixing)
เป็นการผสมสีของ "แสง" ซึ่งอาจเข้าใจยากสักหน่อย เพราะแตกต่าง จากความคุ้นเคยที่เราเคยรู้กันมา แสงสีขาวที่เห็นทั่วไปนั่นประกอบดวยแสงที่มีความยาวคลื่น ต่าง ๆ กันซ้อนทับรวมตัวกันเกิดเป็นสีสันต่าง ๆ จึงเรียกว่า "สีแบบบวก" โดยมีแม่สีพื้นฐานคือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน (Red Green and Blue) เมื่อสามสีนี้ผสมกันจะได้สีขาว (สังเกต ว่าจะต่างจากที่เคยเรียนมาตอนเด็ก ๆ ที่มีแม่สีคือ สีแดง เหลือง น้ำเงิน ผสมกันได้สีดำ) หลักการนี้นำไปใช้กับการมองเห็นสีที่เกิดจากการผสมกันของแสง เช่น จอมอนิเตอร์ จอโทรทัศน์ ที่เรียกว่า RGB Mode

การผสมสีแบบลบ (Subtractive Color Mixing)
เป็นสีที่เกิดจากการดูดกลืนแสงสะท้อนจากวัตถุ คือเมื่อมีลำแสงสีขาวตกกระทบวัตถุสีต่าง ๆคลื่นแสงบางส่วนจะถูกดูดกลืนไว้ และสะท้อนเพียงบางสีออกมา จึงเป็นที่มาของชื่อ "สีแบบลบ" มีแม่สีคือ สีฟ้าแกมเขีว (Cyan) สีม่วงแดง (Magenta) และสีเหลือง (Yellow) เมื่อสามสีผสมกันจะเป็นสีดำเพราะแสงถูกดูดกลืนไว้หมด ไม่สีแสงสะท้อนมาเข้าตา จึงไม่เกิดสีอะ ตาจึงเห็นเป็นสึดำ หลักการนี้ได้นำไปใช้กับการผสมสี เพื่อใช้ในการพิมพ์ โดยใช้แม่สี แต่เพิ่มสีดำขึ้นมาอีกสีหนึ่งผสมกันเป็นโทนต่าง ๆ ด้วยใช้เม็ดสกรีน ทำให้ได้ภาพสีสันสมจริง ดังนั้น หากต้องทำงานเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ ต้องเตรียมภาพด้วยระบบสีนี้ ในโปรแกรมเรียกว่า CMYK Mode

วงจรสี Colour Wheel
วงจรสีก็คือ การวางเนื้อสี เรียงกันตามการผสมสีของสารที่เรามองเห็นโดยตัวอย่างของแบบจำลองวงจรสีี่จะหยิบยกมาศึกษากันนี้ เป็นแบบ 12 สี มาตราฐานที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ลองมาดูภาพประกอบความเข้าใจกันสักเล็กน้อย
1. แรกเริ่มเดมที่เรามี 3 สีเป็นต้นกำเนิด คือแม่สี หรือ สีปฐมภูมิ Primary Colours

2. สีที่ได้จากการผสมแม่สีทั้ง 3 เข้าด้วยกัน เรียกว่า สึขั้นที่ 2 หรือ สีทุติยภูมิ Secondary Colours

3. สีที่ได้จากการผสมแม่สี และสีขั้นที่ 2 ออกมากลายเป็นสีขั้นที่ 3 หรือ สีตติยภูติ Tertiary Colours


ขอบคุณข้อมูลจาก http://student.nu.ac.th


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น